วีธีการถนอมอาหาร ที่นิยมมีดังนี้
1.ตากแห้ง ใช้กับเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และเครื่องเทศ บางครั้งก็ใส่เกลือให้เค็ม แล้วตากแห้ง
2.ใส่เกลือ
3.รมควัน การเอาเนื้อสัตว์มาย่างให้แห้ง โดยใช้ไฟอ่อนๆ และมีควันไฟด้วย เช่น ปลาย่าง ปลากรอบ
4.กวน ใช้กับผลไม้ และมักใส่น้ำตาลมาก เก็บไว้รับประทานได้หลายวัน
5.แช่อิ่ม นิยมใช้กับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมากๆ เพื่อเก็บไว้เป็นของว่าง ถ้าทำแช่อิ่มแห้ง ก็นำผลไม้ที่แช่น้ำเชื่อมค้างคืนแล้วไปตากแดด แล้วนำไปแช่น้ำเชื่อมใหม่ด้วยวิธีเดียวกันกับแช่อิ่ม ทำสลับกันดังนี้จนน้ำเชื่อมเข้าเนื้อดี
6.ดอง ส่วนมากใช้กับปลา กุ้ง หอย ไข่ ผักและผลไม้ เพื่อนำไปใช้ปรุงอาหาร หรือรับประทานเป็นเครื่องแนม เครื่องเคียง วิธีดองมีทั้งดองเค็ม ดองเปรี้ยว และดองสามรส ซึ่งต่างกันที่น้ำสำหรับดอง ซึ่งในการดองจะต้องเตรียมน้ำสำหรับดองไว้ ล้างผัก ผลไม้ ไข่ ปลา กุ้งหรือหอยที่จะหมักหรือดองให้สะอาดแล้วจึงจะนำไปดอง ทิ้งไว้จนได้ที่ตามต้องการ ใช้เวลาเร็วบ้างช้าบ้างตามชนิดของการหมักดอง บางชนิดอาจเป็นวัน แต่บางชนิดอาจเป็นเดือน
7.บรรจุขวดหรือกระป๋อง วิธีการนำอาหารมาบรรจุใส่ขวดหรือกระป๋องที่ฆ่าแบคทีเรียโดยใช้ความร้อนและไม่ให้อากาศเข้าได้เลย
8.ใส่ยากันบูด ตัวยาที่ใส่ลงไปเพื่อหยุดการเจริญของเชื้อที่ทำให้บูด กันการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กันกลิ่นหืน และกันสีเปลี่ยน เป็นต้น แต่การใช้สารกันบูดนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ เช่น
(1) โซเดียมเบนโซเอท ใช้กับอาหารทุกชนิดเพื่อกันเสียในปริมาณโดยน้ำหนักไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(1) โซเดียมเบนโซเอท ใช้กับอาหารทุกชนิดเพื่อกันเสียในปริมาณโดยน้ำหนักไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(2) โซเดียมหรือโปตัสเซี่ยมเมตาไบซัลไฟท์ ใช้กับผลไม้หรือผักแห้งเพื่อกันเสียในปริมาณโดยน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(3) กรดซอร์บิคหรือแคลเซียมซอร์เบท ใช้กับอาหารทุกชนิดเว้นเนื้อสัตว์เพื่อกันเสียในปริมาณไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(4) ควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นตัวป้องกันการเปลี่ยนสี ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
(5) กรดแอสคอร์บิค เป็นตัว anti oxidant หรือตัวป้องกันกลิ่นหืน ใช้ได้กับอาหารทุกชนิด ตามความจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
(6) กรดซิตริก ใช้ป้องกันการเปลี่ยนแปลงสีในผัก ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
(3) กรดซอร์บิคหรือแคลเซียมซอร์เบท ใช้กับอาหารทุกชนิดเว้นเนื้อสัตว์เพื่อกันเสียในปริมาณไม่เกิน 1 กรัม ต่ออาหารหนัก 1 กิโลกรัม
(4) ควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นตัวป้องกันการเปลี่ยนสี ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
(5) กรดแอสคอร์บิค เป็นตัว anti oxidant หรือตัวป้องกันกลิ่นหืน ใช้ได้กับอาหารทุกชนิด ตามความจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม
(6) กรดซิตริก ใช้ป้องกันการเปลี่ยนแปลงสีในผัก ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
9.แช่เย็น
10.อาบรังสี การยืดอายุการเน่าเสียและการงอกของพืชผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้เนื้อหรือแหนมที่อาบรังสี รังสีจะฆ่าพยาธิ ทำให้ปลอดภัยในการบริโภค ถึงแม้จะยังดิบอยู่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น